ทำไมต้องใช้ WordPress Cache Plugin?
ปัญหาอย่างหนึ่งของเว็บไซต์คือ เว็บโหลดช้า ทำให้เสียเวลาของผู้เข้าชม ผู้เข้าชมอาจจะไปเลือกใช้บริการเว็บที่เร็วกว่า ทำให้เราต้องเสียลูกค้าไป วิธีช่วยให้เว็บโหลดเร็ว คือการ cache ซึ่ง WordPress Cache Plugin มีหลายเจ้าให้เลือกใช้ วันนี้ขอยก plugin ที่ไว้ใจได้ที่ผมเคยใช้งานมาบอกต่อกันครับ
WP Super Cache
WP Super Cache พัฒนาโดยทีม Automattic ซึ่งเป็นบริษัทของผู้สร้าง WordPress โดยตรง หายห่วงเรื่องความปลอดภัย และไม่ลอยแพพวกเราแน่นอนครับ
จุดเด่น
Plugin ตัวนี้จะ generate ไฟล์ html ขึ้นมา แล้ว save เก็บไว้ที่ folder เวลาที่มีคนเข้าดูหน้าเว็บ Plugin ก็จะเอาไฟล์ html ที่เก็บไว้ (ซึ่งเป็น static file) มาแสดงผลได้เลย ตัดขั้นตอนการ query database ซึ่งช้าและต้นทุนสูงกว่าออกไป ทำให้ลดการทำงานของ server ประหยัดต้นทุน
ส่วนเว็บที่เป็น dynamic สามารถใช้ function add_cacheaction ได้
การตั้งค่า
ตั้งค่าได้ง่ายไม่ซับซ้อน
สรุป
สำหรับผู้ดูแลเว็บมือใหม่และเป็นเว็บไซต์ข้อมูลธรรมดาแนะนำ WP Super Cache เลยครับ เพราะว่าใช้งานง่าย การตั้งค่าไม่ซับซ้อนอะไรมาก พัฒนาโดยทีม WordPress โดยตรง ระยะยาวไม่มีแจกแพแน่นอน เวลามีปัญหาก็กลับมาเริ่มต้นใหม่ได้ไม่ยาก
W3 Total Cache
W3 Total Cache เป็น plugin cache ที่ครบเครื่องแต่ตั้งค่าเหนื่อยสักหน่อยจนถึงเหนื่อยมาก
จุดเด่น
- ใช้ได้กับ shared hosting ทั่วๆ ไป virtual private / dedicated servers และ dedicated servers / clusters
- Minify css, javascript และบริหารจัดการลำดับการโหลดได้ดีพอสมควร
- Caching of database objects in memory or on disk
- Caching of objects in memory or on disk
- Caching of fragments in memory or on disk
- Caching methods include local Disk, Redis, Memcached, APC, APCu, eAccelerator, XCache, and WinCache
- ส่วนเว็บที่เป็น dynamic มี function ให้ใช้ต้องลองดูในคู่มือ
- ฯลฯ
การตั้งค่า
มีตัวเลือกการตั้งค่าให้ปรับแต่งเยอะมากๆ กว่าจะลงตัวต้องทดสอบหลายรอบแน่นอน
สรุป
W3 Total Cache ตอบโจทย์สำหรับ hosting ทุกแบบ มี Redis, APC, OPcache ฯลฯ ให้เลือกใช้หลากหลายแล้วแต่ว่าใครจะสะดวกอันใหน เหมาะสำหรับมืออาชีพเพราะการตั้งค่าค่อนข้างเยอะ
Hummingbird
Hummingbird สามารถ Minify CSS และ Defer Critical JS บริหารจัดการไฟล์ javascript
จุดเด่น
ตัวนี้เหมือนมาม่ากึ่งสำเร็จรูปออกแบบหมวดหมู่การตั้งค่าไว้ให้ใช้งานง่าย ใช้กับ share host ได้ดีมาก และไม่น่าจะมีปัญหากับ WordPress Multisite เพราะพัฒนาโดยทีม WPMU DEV
การตั้งค่า
ตั้งค่าได้ง่าย แบ่งหมวดหมู่ UI มาดีมาก แต่ options บางอย่างต้องเสียเงินเป็นสมาชิกแบบ premium ของ https://wpmudev.com/ แต่ version ฟรี ก็ใช้งานได้ดีมากอยู่แล้ว
สรุป
เป็น plugin ที่ใช้งานง่ายมาก แต่ผลลัพท์ออกมาดีสุดๆ พบปัญหาน้อย เหมาะสำหรับมือใหม่ หรือโปรเจคที่วางระบบมาดี ที่เปิดใช้งานแล้วเข้ากันได้กับการออกแบบของ Hummimgbird
LiteSpeed Cache
LiteSpeed Cache เป็นปลั๊กอินเร่งความเร็วไซต์แบบ all-in-one มีแคชระดับเซิร์ฟเวอร์และคอลเลกชันของคุณสมบัติการเพิ่มประสิทธิภาพ สามารถใช้ได้กับ web server ทั่วๆ ไป เช่น Apache, NGINX, etc. โดยเฉพาะ LiteSpeed Web Server
จุดเด่น
- รองรับ WordPress Multisite และเข้ากันได้กับปลั๊กอินยอดนิยมส่วนใหญ่ เช่น WooCommerce, bbPress และ Yoast SEO
- Object Cache (Memcached/LSMCD/Redis) Support+
- Minify CSS, JavaScript, and HTML
- Minify inline & external CSS/JS
- Combine CSS/JS – บางครั้งต้องปิด option นี้เพราะทำให้การแสดงผลเพี้ยน
- Load CSS Asynchronously
- Defer/delay JS loading
- OPcode Cache Support+
- Single Site and Multisite (Network) support
- มี Heartbeat control มาให้ด้วย
- ใช้กับ WooCommerce ควรปรับแต่งและทดสอบตะกร้า ajax ให้ดี
- รองรับการ Requests ได้มากสุด 2,168.45 ครั้งต่อวินาที
การตั้งค่า
สามารถตั้งค่าแบบง่ายได้ที่เมนู Presets และยังไปปรับแต่งรายละเอียดได้ละเอียดยิ๊บ สามารถ copy all ค่าที่ตั้งค่าไว้ด้วยการ export ค่าที่ตั้งค่าไว้ แล้วเอาไป import ที่เว็บไหม่ สะดวกสบายไม่ต้องมานั่งปรับทีละคลิ๊ก
สรุป
เป็น plugin cache ที่ให้ option มาครบ ใช้งานง่าย โดยเฉพาะใช้กับ LiteSpeed Web Server น่าจะดีสุดในบรรดา cache plugin ของ wordpress
แนวทางในการเลือกใช้ WordPress Cache Plguin
ถ้าใครใช้ LiteSpeed Web Server อยู่ก็ใช้ LiteSpeed Cache ไปเลย แต่ถ้าใช้ตัวอื่นหลังจากติดตั้งแล้วแนะนำให้ปิดทุก options ไว้ก่อนแล้วค่อยๆ เปิดทีละ option ทดสอบทีละ option เวลามีปัญหาเราจะได้รู้ง่ายๆ ว่าปัญหามาจาก option ไหน